หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน
แนวโน้มนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียน การสอน
แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย
ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย
ด้านความบันเทิง รวมถึงด้านความมั่นคง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นพื้น
ฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน
หรือ Ubiquitous
Information Society ที่ข้อมูลและข่าวสารได้รับการเชื่อมโยงและเข้าถึงอย่างไร้ข้อจำกัด
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21
แนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น
การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงการประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง
โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ
ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอด
และมีการพัฒนาต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต
เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์การได้ศึกษา
แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้
เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องสนใจที่จะศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
1. คอมพิวเตอร์ (computer)
มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล
2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial
intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิด
แก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง
3. อินเทอร์เน็ต (internet)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก
มีการใช้งานหลากหลายรูปแบบอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่
4. ระบบเครือข่าย (networking
system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area
network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด
ส่วนใหญ่ภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้
5. การประชุมทางไกล (teleconference)
เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์
และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ
โดยผู้นำเข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน
ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง
แนวโน้มการใช่เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.
ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจะเห็นได้ว่า
กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคลมวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
2.
เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำ
คอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน
และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา
ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ
งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ
เอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่
1. Ubiquitous
Learning คือ
การเรียนรู้รอบทิศทางโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายในการศึกษาทั้ง Mobile
Learning, Tablet, WiFi เป็นต้น
2. Video
streaming คือการให้บริการ สื่อมัลติมีเดียประเภท วิดีโอ
ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี streaming ซึ่งคล้ายกับ
radiostreaming แต่แตกต่างตรงที่เปลี่ยนจากประเภท เสียง
เป็นการเผยแพร่ประเภท วิดีโอ โดยถ้าจะให้มองเห็นภาพของ วีดิโอ สตรีมมิ่งชัดเจน ขึ้น
ให้มองถึงการถ่ายทอดสด หรือรายการที่ออกอาการทางโทรทัศน์ ซึ่งวีดิโอ สตรีมมิ่ง
จะมีลักษณะเดียวกัน
แต่เปลี่ยนมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
3. Hybrid
Learning/Blended Learning คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง
e-Learning และ ชั้นเรียนในสัดส่วน online 30-79%
4. HyFlexLearning
คือ
การเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่นที่ให้ผู้เรียนมีทางเลือกด้วยตนเอง
ออกแบบการเรียนด้วยตนเองทั้ง การเรียนการสอน ออนไลน์, เผชิญหน้า, หรือค้นคว้าด้วยตนเองตามแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา
แนวโน้มในด้านบวก
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง
ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้
อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง
เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้
เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการเรียนรู้
4. การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual
library)
5. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม
ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 6. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่
โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)
รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ
e-citizen
แนวโน้มในด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์
ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา
ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา
การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3. การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล
การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น